Samuel Huntington

The most important political distinction among countries concerns not their form of government but their degree of government. —Samuel P. Huntington, Political Order in Changing Societies (1968)

ในบริบทที่นักรัฐศาสตร์และนักเศรษฐศาสตร์ล้วนเชื่อว่าการพัฒนาทางเศรษฐกิจสามารถนำมาซึ่งความเสถียรภาพทางการเมือง ฮันติงตันกลับมองว่าการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจที่มาพร้อมกับภาวะการเปลี่ยนผ่านสู่ความทันสมัย (modernization) เช่น การพัฒนาการศึกษา หรือ การพัฒนาอุตสาหกรรม สามารถนำมาซึ่งความตื่นตัวของประชาชนกลุ่มใหม่ที่ต้องการมีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมือง

การพัฒนาดังกล่าวจึงสามารถสร้างความขัดแย้งและความรุนแรง และอาจส่งผลกระทบในทางลบต่อโครงสร้างทางสังคมหากสังคมนั้นๆปราศจากสถาบันทางการเมืองที่แข็งแรง ยืดหยุ่น และเพรียบพร้อมต่อการรองรับบทบาททางการเมืองของประชาชนกลุ่มใหม่ๆ

ดังนั้น ฮันติงตันจึงเห็นว่าระบอบและรูปแบบของการปกครอง (regime type) ไม่ว่าจะเป็นการปกครองโดยตนเอง การปกครองโดยอภิสิทธิ์ชน ประชาธิปไตย หรือ เผด็จการ ล้วนไม่สำคัญเท่ากับปัจจัยเชิงสถาบันและความเป็นสถาบัน (institutionalization) ซึ่งมีบทบาทเป็นพื้นฐานของการจัดระเบียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน




Enjoy Reading This Article?

Here are some more articles you might like to read next:

  • Thailand’s New Electoral System: More Freedom of Choice, With a Catch | FULCRUM
  • Merge or Die: How Chart Pattana Kla Reflects a Sea Change in Party Dynamics | FULCRUM
  • The Threat and Allure of Thai-Style Party Bans | FULCRUM
  • Democratic Consolidation or Authoritarian Survival: Thailand’s Next General Election in 2023 | FULCRUM
  • Political Dealmaking Will Determine the Winner and Twist Policy Outcomes in Thailand’s Election | FULCRUM