Clifford Geertz

Believing, with Max Weber, that man is an animal suspended in webs of significance he himself has spun, I take culture to be those webs, and the analysis of it to be therefore not an experimental science in search of law but an interpretive one in search of meaning. —Clifford Geertz

ลองสมมุติว่ามีเด็กสามคน คนแรกกระพริบตาโดยไม่ตั้งใจ คนที่สองหลิ่วตาเพื่อส่งสัญญาณอะไรบางอย่าง คนที่สามกระพริบตาเพื่อล้อเลียนเด็กคนแรก หากเราศึกษาปรากฏการณ์ดังกล่าวในระดับตื้น หรือมองแต่ในเชิงพฤติกรรม คงไม่สามารถจำแนกแยกแยะการกระพริบตาทั้งสามแบบได้ ทั้งๆที่มีโครงสร้างอะไรบางอย่างทำให้การกระพริบตาทั้งสามแบบสามารถถูกผลิต รับรู้ และตีความได้ในความหมายและนัยที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน

นี่คือตัวอย่างที่นักมานุษยวิทยา คลิฟฟอร์ด เกียร์ซ หยิบยกมาอธิบายทัศนะของเขาที่มีต่อสิ่งที่เรียกว่า ‘วัฒนธรรม’ เกีร์ซเปรียบวัฒนธรรมดั่งเครือข่ายเชิงสัญลักษณ์ที่มนุษย์ทอขึ้นเอง ดังนั้นการวิเคราะห์และการทำความเข้าใจวัฒนธรรม จึงต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการตีความเพื่อแสวงหาความหมาย ต่างกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเน้นการสำรวจค้นหาข้อเท็จจริงหรือกฎเกณฑ์ที่ตายตัว




Enjoy Reading This Article?

Here are some more articles you might like to read next:

  • Thailand’s New Electoral System: More Freedom of Choice, With a Catch | FULCRUM
  • Merge or Die: How Chart Pattana Kla Reflects a Sea Change in Party Dynamics | FULCRUM
  • The Threat and Allure of Thai-Style Party Bans | FULCRUM
  • Democratic Consolidation or Authoritarian Survival: Thailand’s Next General Election in 2023 | FULCRUM
  • Political Dealmaking Will Determine the Winner and Twist Policy Outcomes in Thailand’s Election | FULCRUM